วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเขียนบทความจากข้อมูลทางสื่อเสียง

ริษยาไฟแห่งการเผาไหม้

ชื่อ นาวสาวสิริรักษ์ ยิ้มละมัย รหัสนิสิต 52040217
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ

ความริษยาหมายถึงความต้องการให้ใครคนใดคนหนึ่งถูกทำลายหรือไม่ต้องการให้คนอื่นได้ดีและถ้าหากตัวเองสามารถทำได้ คนริษยาก็จะลงมือทำลายคนที่ตนเองอิจฉา ความรู้สึกเช่นนี้แตกต่างไปจากความอิจฉาซึ่งหมายถึงต้องการให้ตัวเองได้ดีในขณะเดียวกันก็ต้องการให้คนอื่นได้ดีด้วย ความรู้สึกอิจฉาอย่างหลังนี้เป็นเรื่องดีเพราะมันนำไปสู่การแข่งขัน การแข่งขันไม่ใช่สิ่งที่น่าตำหนิ หากแต่เป็นเรื่องน่ายกย่องเสียด้วยซ้ำถ้าหากมันเป็นการแข่งขันไปสู่ความดี
นิสัยริษยานี้จะเกิดขึ้นกับคนที่มีความดีในตัวน้อย ถ้าหากมีคุณงามความดีมากกว่าคนอื่นก็ไม่ตองมีความจำเป็นที่จะต้องไปริษยาใคร เนื่องจากเรามีคุณงามความดีน้อยกว่าคนอื่นแล้วอยากได้ดีเท่ากับเขาหรือมากกว่าเขาแทนที่จะคิดแก้ไขตัวเอง กลับไปคิดในทางที่ผิดๆหรือร้ายๆคิดที่จะเหยียบย้ำคนอื่นลงไปด้วยฤทธิ์ของความเข้าใจผิด คนที่มีนิสัยชอบริษยาทำให้เป็นคนที่มีจิตใจเศร้าหมอง ไม่มีคำพูดที่อ่อนหวาน แสดงอาการร้ายๆออกมา หน้านิ่วคิ้วขมวดจนกลายเป็นโรคแห่งความริษยา ความริษยาเป็นโรคร้ายของหัวใจที่นำไปสู่การกระทำที่เสียหายและพฤติกรรมที่ชั่วร้าย มันนำไปสู่ความเกลียดชัง การมีเจตนาร้ายต่อคนอื่น การใสร้าย การโกหกและอื่นๆ มันอาจทำให้คนที่ริษยาทำร้ายคนที่เขาริษยาและสามารถนำไปสู่การกระทำฆาตกรรมได้ ความริษยาถูกถือว่าเป็นโรคร้ายที่อันตรายที่สุดอย่างหนึ่งของจิตใจ เราจะเห็นได้ทันทีถึงอันตรายของความริษยาว่ามันทำให้คนตาบอดมันทำให้หัวใจอันบริสุทธิ์ของคนหมดความเมตตาปรานี มันสร้างความเจ็บปวดแก่คนที่ถูกริษยา ความริษยาเกิดขึ้นเพราะความเกลียดชัง ความทะนงตน ความหลงใหลตัวเอง ความอยากเป็นผู้นำและความสกปรกของจิตใจความไม่ต้องการให้ผู้อื่นได้ดีเมื่อเห็นใครได้ดีจะมีความเป็นทุกข์ร้อนร้นกระวนกระวายไม่สามารถอยู่กับที่ได้พยายามหาทุกข์วิธีทางเพื่อจะเอาชนะจนกลายเป็นโรคร้ายที่ติดตัวคนเรา ถ้าคนเรามีความสุขได้ก็เพราะคนที่เราริษยาไม่ได้รับความดี ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆเลยก็ตามแต่ได้ความสบายใจเมื่อเห็นคนอื่นไม่ได้ดี การที่คนเราคอยริษยาคนอื่นก็ต้องได้รับแต่ความเจ็บปวดเช่นกันเพราะต้องคอยเฝ้าติดตามคนที่เราริษยาอยู่ตลอดเวลา เพื่อความสบายใจที่จะได้เห็นคนที่เราริษยาไม่ได้รับสิ่งดีงามบางทีอาจจะต้องเจ็บปวดมากกว่าคนที่เราริษยาด้วยซ้ำตัวอิจฉาริษยาอยู่ในตระกูลโทสะ มีกิเลศอยู่ 4 ตัว โทสะคือความปทุศร้าย อิสาคือความริษยา มัจฉริยะคือความตระหนี่ และกุฏจะคือความหงุดหงิดใจ ตัวริษยา ตัวที่ไม่ปราถนาที่จะให้คนอื่นได้เหมือนอย่างที่ตัวเองได้ พอเห็นคนอื่นได้ เกิดอาการริษยา เกิดการเสียดแทงในใจ ไม่ตอบรับ ไม่ยอมรับ ที่คนอื่นเขาได้ เราสามารถแก้อาการริษยาได้มีอยู่ 4 ข้อด้วยกัน 1.หมั่นให้ทาน รู้จักการแบ่งปันให้ผู้อื่น 2.ปิยะวาจา เวลาพูดจากับใครก็พูดด้วยวาจาที่ไพเราะเพราะคำพูดนั้นเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจคนได้ดี 3.อัตถจริยา การนำเอาความรู้ความสามารถที่เรามีอยู่นำไปช่วยคนอื่น 4.สมานัตตตา ไม่ว่าจะคบกับใครก็ควรมีความจริงใจให้เขาไม่ว่าร้ายใครลับหลังมีแต่ความจริงใจถ้าเราทำ 4 ข้อนี้ได้ก็จะป็นที่มาแห่งงเสน่ห์ของเราถึงตอนนั้นก็สามารถไปช่วยสอนคนอื่นๆที่กำลังอิจฉาคุณให้รู้ถึงงวิทีการแก้ไขได้
สิ่งเหล่านี้คือความอิจฉาริษยาในหัวใจที่กลืนกินความดีและลบล้างมันเหมือนกับกลางคืนเข้ามาลบกลางวัน คนที่เป็นทุกข์จากความอิจฉาริษยาในชีวิตจะเจ็บปวดเพราะความอิจฉาริษยาและเขาจะเศร้าโศกเสียใจทุกครั้งที่เขาเห็นคนที่เขาอิจฉาริษยาได้รับความโปรดปราน ถ้าหากเราสามารถขจัดความริษายออกจากตัวได้แล้วนั้นก็จะทำให้เราพบแต่ความผาสุขในชีวิต




-------------------------------------
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของศึกษารายวิชา ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เอกสารอ้างอิง

http://blog.spu.ac.th/porn
โดย หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ : เขมกะ. สำนักพิมพ์ธรรมะสภา.๒๕๔๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น