วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเขียนบทความจากข้อมูลทางสื่อเสียง

สิ่งสำคัญของการเป็นคน

ชื่อ นาวสาวสิริรักษ์ ยิ้มละมัย รหัสนิสิต 52040217
คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ


เราเกิดมาต้องมีหน้าที่เป็นของตนเองไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดหรือมีความเป็นอยู่อย่างไรก็ตามล้วนต่างต้องมีหน้าที่กันทุกคน เริ่มตั้งแต่เกิดเลยก็เรียกได้ เราต้องเป็นลุกที่ดี เป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นผู้บังคับบัญชาที่ดี เป็นพนักงานที่ดี เมื่อเรามีหน้าที่ของตนเองเราต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถและเต็มความภาคภูมิใจ
เราทุกคนมีหน้าที่ต่างกัน อยู่ที่บุคคลนั้นกำลังอยู่ในสถานะใด ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด อย่างเช่นตอนนี้เรากำลังศึกษาอยู่ เราต้องอยู่กับพ่อแม่ ดังนั้นเราจึงควรไม่ทำตัวไม่ดี เป็นคนอกตัญญู ก้าวร้าว ทำร้ายพ่อแม่ เราควรทำตัวให้สมกับการเป็นลูกที่ดี ลุกที่ดีมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ดูแลเลี้ยงพ่อแม่เป็นการตอบแทนเมื่อยามท่านแก่เฒ่า ท่านดูแลเราดีมากแค่ไหน เราต้องดุแลท่านให้ดีมากกว่านั้นเป็น 10 เท่า วิธีการเลี้ยงพ่อแม่นั้น มี ๒ อย่าง คือ เลี้ยงร่างกาย และ เลี้ยงน้ำใน เลี้ยงร่างกาย นั้นได้แก่ จัดข้าวปลาอาหาร ขนม และผลไม้ที่ดี แปลกใหม่มาบำรุงพ่อแม่ ไม่ให้บกพร่อง หาเครื่องนุ่งห่มที่ดีเหมาะสม จัดทำที่อยู่อาศัยให้พ่อแม่ของเราได้พักผ่อนหย่อนใจอย่างผาสุก ส่วนการเลี้ยงน้ำใจนั้น จงทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ขัดเคืองใจพ่อแม่ เมื่อท่านมีความประสงค์อะไร หรือจะให้เราทำอะไรแล้ว จงทำตามที่พ่อแม่ต้องการด้วยความเต็มใจ แม้สิ่งนั้นจะไม่ถูกกับความประสงค์ก็ดี หรือเป็นของไม่ควรทำ แต่ไม่ถึงกับเสียหายก็ดีก็ขอให้พยายามทำตามอย่าขัดขืนให้ไม่สบายใจ ช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ในทุกๆเรื่อง งานใดเป็นสิ่งที่พ่อแม่จะต้องทำแล้ว พ่อแม่จะออกปากให้เราช่วยหรือไม่ออกปากก็ตาม เราจะต้องรีบช่วยจัดทำงานนั้นให้เสร็จสิ้นไป โดยไม่ต้องให้พ่อแม่เป็นห่วงกังวลใจ ถ้าเราทำเฉยเสียจนท่านต้องใช้เราเป็นครั้งที่สองก็ได้ชื่อว่าเป็นลูกที่ไม่ดี เราอายุน้อยหรือโตแล้วก็ต้องช่วยทำงานตามสมควรแก่กำลังของเรา รักษาเกียรติ์ของตนเองและวงศ์ตระกูลไม่ทำให้เกิดเรื่องเสื่อมเสียหรือเรื่องเสียหายใดๆ ประพฤติตนให้เหมาะสมและสมควรที่จะได้รับทรัพย์สมบัติจากพ่อแม่และเมื่อได้แล้วต้องดูแลรักษา รู้คุณค่าของสิ่งที่ได้มา และเมื่อพ่อแม่ของเราได้ล่วงลับไปแล้ว เรายังสามรถเป็นลูกที่ดีต่อท่านได้โดยการทำบุญตักบาตร กรวดน้ำส่งไปให้ ถ้าเราสามารถทำหน้าทีของลูกที่ดีได้อย่างสมบูรณ์ เราสามารถที่จะทำหน้าที่พ่อแม่ได้อย่างสมบูรณ์เช่นกัน หน้าที่ของการเป็นพ่อแม่ที่ดี ต้องห้ามปรามลูกจากความชั่วไม่ให้ทำความชั่ว และสอนให้รู้ว่าความชั้วนั้นคืออะไรไมดีอย่างไร เมื่อสอนให้ลูกรู้ถึงความชั่วแล้ว ต้องสอนให้ลูกรู้จักการทำความดีด้วย ว่าความดีนั้นคืออะไร ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่า “ความดี” ให้การศึกษากับลูก เริ่มตั้งแต่ที่บ้านโดยมีพ่อแม่เป็นผู้สั่งสอนให้การอบรมที่ดี ในขั้นต้นพ่อแม่ก็สอนให้ลูกรู้จักกริยามารยาทในการเดิน การนั่ง การยืน และการนอน ตลอดจนการพูดจา ให้มีกริยาเรียบร้อย อ่อนน้อม และพูดจาเป็นสัมมาคารวะ อ่อนหวาน ให้รู้จักขอโทษเมื่อตนได้ทำผิดไป ให้รู้จักกราบไหว้และกล่าวขอบคุณแก่บุคคลผู้ให้สิ่งของอะไร ๆ แก่ตน และเมื่อถึงวัยที่ต้องได้รับการศึกษาก็ต้องส่งลุกไปเข้าโรงเรียนตามหลักสูตรที่ทางการการศึกษาได้กำหนดไว้ จนสำเร็จการศึกษา และต้องแสดงความยินดีเมื่อลูกประสบความสำเร็จในหน้าที่ เมื่อมีการเรียนและการงานที่ดีแล้วพ่อแม่ก็ต้องหาคู่ครองที่คู่ควรและเหมาะสมให้กับลูกคอยเป็นหูเป็นตาไม่ใช่การคลุมถุงชน เมื่อถึงเวลาอันสมควรก็ควรมอบทรัพย์สมบัติและมรดกให้กับลูกทั้งคุณงามความดีและของมีค่าที่มีอยู่ให้กับลูก นอกจากหน้าที่ที่ดีของพ่อแม่แล้ว เรายังนำหลักในธรรมะมาใช้ในการเลี้ยงลูกได้อีก คือ หลักพรหม 4 เมตตา คือ รักลูก รักอย่างมีเหตุผล กรุณา คือ การช่วยเหลือ แต่ไม่ใช่การทำให้ในทุกๆเรื่องจนลูกไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตนเอง มุฑิตา คือ การแสดงความยินดีเมื่อลูกประสบความสำเร็จในหน้าที่การเรียนและการงาน อุเบกขา คือ การวางตนเป็นกลาง ไม่เข้าข้างลูกของเราจนเสียคนต้องมีเหตุผล หลักในการเลี้ยงลูกทุกอย่างต้องอยู่ในความพอดี ไม่มากไม่น้อยเกินไป แล้วก็ต้องไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไปเลี้ยงอย่างบูรณาการ จึงจะเรียกได้ว่าพ่อแม่เป็น “พระพรหม”ของลูก
ไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม ไม่ว่าจะในฐานะลูกหรือพ่อแม่ เราก็ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ถูกต้องและเรียบร้อย เมื่อเราสามรถทำหน้าที่ของเราได้ดีที่สุดแล้ว เราก็สามรถที่จะเรียกร้องในสิ่งที่เราต้องการได้ หากเรายังไม่สามารถทำหน้าที่ของเราให้ดีได้เราก็ไม่สามารถที่จะเรียกร้องสิ่งใดได้เลย





-------------------------------------
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของศึกษารายวิชา ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เอกสารอ้างอิง
http://blog.spu.ac.th/porn
โดย หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ : เขมกะ. สำนักพิมพ์ธรรมะสภา.๒๕๔๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น